วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ผลของการใช้ยา Tylosin กับการป้องกันโรค Mycoplasma

ประจำเดือน  มิถุนายน   2011

แปลและเรียบเรียงโดย  .สพ.ชัชวาลย์   สอนศรี

ผช.ผจญ. วิชาการ-สุขภาพไก่เนื้อ



ผลของการใช้ยา Tylosin ในการควบคุมโรค Mycoplasmosis และ Necrotic enteritis

(The use of tylosin for mycoplasmosis and necrotic  enteritis control)



            จากการที่บริษัท ฮูเว้ ฟาร์มม่า ได้มีการจัดสัมมนาเรื่องของการใช้ยา Tylosis ขึ้น ที่กรุงอิสตันบลู ที่ยุโรป  ซึ่งสไลด์ของการบบรยายในหัวข้อนี้จะอยู่ในส่วนของสัตว์ปีก  ซึ่ง ดร.แอนเน่ ได้ทำการบรรยายเกี่ยวกับการเกิดโรคติดเชื้อ Mycoplasma gallisepticum และ Mycoplasma synoviae  อีกครั้งหนึ่ง เชื้อ  Mycoplasma จะมีทั้งหมด 24 สายพันธ์  แต่สายพันธืที่มีผลที่ทำให้เกิดโรคในไก่ จะมีอยู่ 2 สายพันธ์ คือ Mycoplasma gallisepticum และ Mycoplasma synoviae   เท่านั้น  ซึ่งสัตว์ที่เชื้อทั้ง 2 ชนิดนี้ จะสามารถอาศัยอยู่ จะมีรายละเอียดตาม ตารางที่ 1:

            เชื้อ Mycoplasma gallisepticum และ Mycoplasma synoviae  ถือได้ว่าเป็นเชื้อที่มีการแพร่กระจายได้ดี แต่ว่าสัตว์ปีกในกลุ่มที่เป็นพ่อ แม่พันธ์สามารถที่จะทำให้ปราสจากเชื้อทั้ง 2 ชนิดนี้ ภายในร่างกายได้ และโดยทั่วไปแล้วเราก็เราก็มักจะไม่ค่อยกล่าวถึงเชื้อ Mycoplasma synoviae    สักเท่าใหร่ เพราะมันไม่ค่อยที่จะก่อโรคแบบรุนแรงในสัตว์ปีก  เชื้อทั้ง 2 ชนิดนี้เราสามารถที่จะตรวจพบได้คนที่เคยสัมผัสเชื้อมาแล้ว ในช่วง 1-3 วันที่บริเวณจมูกและผมของคนที่เคยสัมผัสเชื้อ และบางครั้งจะมาสารถที่จะตรวจพบได้ ในช่วง 2-4 วันก็ได้ แต่ว่าเชื้อตัวนี้ สามารถที่จะอยู่ภายในไข่ได้ 6-18 สัปดาห์เลยทีเดียว

                โดยทั่วๆแล้วเรามักจะหลีกเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธ์ ที่มีภูมิคุ้มกันของโรคนี้ขึ้นสูง เพราะนั้นแสดงว่าไก่ตัวนั้นเคยที่จะสัมผัสหรือได้รับเชื้อตัวนี้มาแล้วก็ได้  แต่ว่าการที่จะตรวจระดับภูมิคุ้มกันแล้วไม่พบว่าไม่มีภูมิคุ้มกัน นั้นก็ไม่ได้หมายความว่า ไก่ตัวนี้จะไม่มีเชื้ออยู่ภายในตัว เชื้อ Mycoplasma สามารถที่จะแพร่ไปในแนวขวางได้ โดยมันสามารถที่จะแพร่ผ่านจากไก่ตัวที่ป่วยไปยังไก่ตัวที่ไม่ป่วยได้ซึ่งการแพร่แบบนี้ถือได้ว่าเป้นการแพร่โดยทางตรง หรือ ถ้าเป็นการแพร่โดยทางอ้อมมันก็สามารถที่จะส่งเชื้อผ่านจากแม่มายังลูกไก่ซึ่งการแพร่แบบนี้เราเรียกว่าการแพร่เชื้อในแนวดิ่ง ซึ่งเชื้อที่แพร่ในแนวดิ่งนี้มันจะมาพร้อมกับไข่ที่แม่ไก่ไข่ออกมา และเมื่อฟักลูกออกมาเชื้อก็จะติดมากับลูกไก่ตั้งแต่เกิดเลย

                สำหรับอาการของการติดเชื้อ M.gallisepticum นั้น มันจะมีอาการแสดงออกได้หลายแบบ ซึ่งทั้งนี้ก็จะพบได้ตั้งแต่ไม่มีอาการใดแสดงออกมาเลยไปจนถึงแสดงอาการที่ป่วยมากๆ ซึ่งอาการของโรคที่เด่นชัดที่พบได้คือ ไก่จะแสดงอาการ ไอ จาม หลอดลมอักเสบแดง มีเมือกในหลอดลม มีน้ำมูก โพรงจมูกอักเสบ บวม และเยื่อบุตาอักเสบ

                ส่วนอาการของการติดเชื้อ M.synoviae นั้น อาการจะแสดงออกตามชนิดของเชื้อที่ติด ซึ่งถ้าเป็นชนิดที่ก่อโรคทางระบบหายใจนั้น มันมักจะไม่ค่อยแสดงอาการให้เห็นเด่นชัดหรือไม่ก็ไม่แสดงอาการใดๆเลย ส่วนเชื้อกลุ่มที่ก่อโรคที่ข้อ มักจะทำให้ไก่แสดงอาการขาเจ็บหรือข้อขาบวมโต หรือเชื้อชนิดอื่นๆที่ก่อโรคที่ระบบท่อนำไข่มันก็มักจะทำให้ไข่ที่ไข่ออกมาเปือกผิดรูปไปได้ หรือทำให้ไข่ผิดรูปไปเลย หรือจากนี้อาจจะทำให้ไข่ลด หรือเปือกไข่แตกร้าว ก็ได้  และนอกจากนี้ เชื้อ M.synoviae มันสามารถที่จะก่อโรคร่วมกับเชื้อ IBV ได้อีกด้วย  ดังตารางที่ 2:

            ส่วนผลกระทบทางธุรกิจของการติดเชื้อ Mycoplasma โดยมากแล้วมันจะมีผลทำให้คุณภาพซากไก่ไม่ดี ทำให้มีการคัดทิ้งซากไก่ที่โรงเชือดสูง และนอกจากนี้ ไก่ที่เลี้ยงที่ฟาร์มจะมีผลทำให้ไก่มีการคัดทิ้งสูงและอัตราการเจริญเติบโตต่ำ แต่สิ่งที่มักจะทำให้เกิดปัญหามากขึ้นก็คือ การติดเชื้อชนิดอื่นๆร่วมกับเชื้อ Mycoplasma นั้นเอง ซึ่งทั้งนี้ก็มักจะเป็นเชื้อที่รุนแรงด้วย เช่น เชื้อ ND  เชื้อ IBV  เชื้อ E.coli ส่วนในไก่งวงก็มักจะพบว่าเชื้อ M.meleagridis จะเป็นตัวที่ทำให้โรคได้

                โดยมากเชื้อ Mycoplasma ที่มักจะมีผลทำให้เปือกไข่ผิดรูปนั้น โดยมากมักจะเป็นเชื้อ M.synoviae ซึ่งข้อมูลนี้ก็เป็นที่รู้กันมานานนับร้อยปีแล้ว ปัจจัยต่างๆที่จะไปมีผลทำให้ความรุนแรงของโรคจะมากหรือน้อยนั้นมันก็มีอยู่หลายปัจจัย โดยหลักๆแล้วอายุของไก่มักจะเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบมากที่สุด ส่วนไก่พันธ์ขาว และไก่พันธ์น้ำตาลนั้น โดยมากมันมักจะมีความแปรผันไปตามสภาพสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรือนมากกว่า และนอกจากนี้ความรุนแรงของโรคนี้มันก็มักจะมากขึ้นได้ถ้าพบว่ามันมีการติดเชื้อร่วมกับ เชื้อ IBV  ดังตารางที่ 3:

            EAA มักจะพบในฝูงที่ไก่พ่อแม่พันธ์ที่จะฟักไข่เป็นลูกไก่เนื้อ แต่โดยทั่วไปแล้วมันก็มักจะพบน้อยกว่าไข่ในไก่พันธ์รุ่นอยู่แล้ว ( 2 กับ 14-22% ) และบางครั้งปัญหาที่พบมันก็มักจะยาวนานมาก ในตารางที่ 4: จะเป็นการสรุปโดยภาพรวมถึงผลกระทบทางธุรกิจต่อการติดเชื้อ Mycoplasma  ดังตารางที่ 4:

            ดร.แอแน่ ต้องการที่จะรักษาโรคติดเชื้อ Mycoplasma ซึ่งในการรักษาโรคนี้เค้าจะใช้ยาปฏิชีวนะ หลายๆอย่าง เป้นการทดลองก่อน ซึ่งยาปฏิชีวนะที่เค้าเลือกมาใช้ได้แก่  tetracyclines , macrolides , quinolone และ pleuromutilin  โดยปฏิชีวนะที่เค้าเลือกใช้ไปนี้ มันจะไปทำให้จำนวนของเชื้อ mycoplasma ลดจำนวนลง ซึ่งวีธีการนี้มันจะเป็นการควบคุมอาการของโรคช่วงครวจและช่วยทำให้การไข่ไม่ผิดปกติ  แต่วิธีการนี้มันก็จะมีผลเสียเช่นกัน คือมีจะต้องให้ยาหลายๆครั้ง ซึ่งมันจะไปมีผลทำให้เชื้อดื้อยาและทำให้เกิดการตกค้างของยาภายในตัวไก่ก็ได้ นอกจากวิธีการควบคุมเชื้อตัวนี้เราสามารถที่จะใช้วัคซีนเชื้อตายฉีดให้ไก่ได้ ซึ่งผลดีของมันก็เช่น มันจะมีความปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดโรคถุงลมอักเสบ แต่จำนวนไข่ไก่อาจจะลดลง และต้นทุนแพงขึ้น แต่การใช้วัคซีนมันก็ไม่สามารถที่จะป้องกันกลุ่มเชื้อที่เป็นก้อนได้ การทำวัคซีนนี้มันสามารถที่จะกระตุ้นทำให้เกิดระดับของภูมิคุ้มต่อโรคได้ แต่ว่าบางทีมันก็ตรวจไม่ค่อยพบ

                วัคซีนชนิดเชื้อเป็นก็เป็นวัคซีนที่ใช้ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพดี ราคาไม่แพง และเชื้อที่เป็นวัคซีนมันสามารถที่จะเข้าไปแทนที่เชื้อที่ก่อโรคที่อยู่ภายในฟาร์มได้อย่างสะบาย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม วัคซีนเชื้อชนิด F strain มันก็สามารถที่จะกระตุ้นทำให้เกิดปํญหาระบบทางเดินหายใจภายในตัวไก่ได้  และกระตุ้นทำให้เกิดภูมิคุ้มกันขึ้นภายในตัวไก่ และมันยังไปมีผลกระทบกับการใช้ยาปฏิชีวนะบางตัวด้วย ทำให้การใช้ยาไม่ได้ผลตามมา

                ข้อดีของการใช้วัคซีนที่เห็นชัดที่สุดคือ มันจะป้องกันการเกิด EAA ในไก่ได้เป็นอย่างดี  ดังตารางที่ 5 : กล่าวโดยสรุปแล้ว ดร.แอแน่ การที่ไก่ติดเชื้อ Mycoplasma นั้น มันก็ยังถือได้ว่ายังเป็นปัญหาหลักอยู่ เพราะว่าเชื้อตัวนี้มันสามารถที่จะเข้าไปอยู่ภายในเซลล์ของตัวไก่ได้ ซึ่งก็ถือได้ว่าไก่มันเป็นที่อาศัยของเชื้อตัวนี้ดีๆนั้นเอง ซึ่งท้ายมันก็จะมาถึงว่าการใช้วัคซีนไม่ได้ผล เชื้อมีการดื้นยา และนั้นก็เท่ากับว่าการจัดการกับเชื้อก็จะล้มเหลวไปในที่สุด

                .แวน จากมหาวิทยาลัยแกรทร์แห่งแบลเยี่ยม ได้สะท้อนไห้เห็นถึงการเกิดโรคลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตายในไก่เนื้อ Necrotic enteritis (NE) เอาไว้ว่า เมื่อดูว่าสุขภาพของลำไส้ของไก่เป็นยังงัยนั้น ให้ดูหลายส่วนประกอบกัน ก็คือเริ่มตั้งแต่ จำนวนของวิลไลในลำไส้  ปริมาณของสารพิษ ปริมาณของแอมไซด์ การเคลื่อนที่ของอาหารภายในลำไส้  จำนวนของสารเคมีที่ใช้ควบคุมปริมาณของเชื้อจุลินทรีย์ภายในลำไส้ และสารอาหารที่เปลี่ยนไป จำนวนชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ภายในลำไส้ รอยแผลหลุมที่เกิดภายในลำไส้ และร่อยของการอักเสบเนื่องสิ่งต่างๆภายในลำไส้  เป็นต้น

                ปัญหาของโรคลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตายในไก่นั้น มันจะทำให้เกิดการสูญเสียทางธุรกิจมากมาย โดยประมาณ 2 ร้อยล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว ซึ่งเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคนี้หลักๆก็จะเป็นเชื้อ Clostridium perfringens ซึ่งเชื้อเชื้อตัวนี้มันจะการผลิตสารพิษชนิด net B toxin  ออกมา ซึ่งสารพิษตัวนี้มันจะไปมีผลทำให้เกิดตายภายในลำไส้ตามมา ดังตารางที่ 6: โดยมากแล้วถ้าไก่เป็นโรคลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตาย เราก็จะมาสามารถที่จะแยกเชื้อ Clostridium perfringens ได้ในปริมาณที่มากๆอยู่แล้ว  ปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนี้ที่จะมีผลกับสุขภาพของไก่อย่างหนึ่งเลยก็คือ สายพันธ์ของไก่เอง ซึ่งแต่ละสายก็จะมีความไวต่อการเกิดโรคนี้ที่แตกต่างกัน และยังสัมพันธ์กับสายพันธ์ของเชื้อ Clostridium ด้วย ยิ่งถ้าเป็นชนิดสายพันธ์ที่มีความรุนแรงมันก็จะก่อโรคที่มีความรุนแรงมากตามไปด้วยและนอกจากนี้มันยังไปขัดขวางเชื้อที่ไม่มีความรุนแรงไม่ให้เจริญเติบโตได้อีกด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วเชื้อตัวนี้มันก็จะสามารถที่จะเจริญเติบดตได้ดีภายในลำไส้ของไก่ได้อยู่แล้ว แต่ถ้ามันมีจำนวนที่มากเมื่อใหร่ มันก็จะกลับมาเป้นตัวที่ก่อโรคทันที ดังนั้นเราสามารถที่จะควบคุมมันไม่ให้เชื้อมีการเจริญเติบโตที่มากขึ้นได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะในการควบคุมอย่างเช่น ยา amoxicillin , ยา licomycin , ยา tylosin เป็นต้น

                และนอกจากนี้ เราจะต้องมีการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อบิดร่วมด้วยซึ่งการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อบิดนี้เราจะมีการใช้ยา หรือ วัคซีนก็ได้ เพราะว่าเชื้อบิดก็จะเป็นอีกตัวหนึ่งที่จะมีส่วนทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบแบบเนื้อตายมา สารพิษที่เกิดจากเชื้อ clostridium ที่เชื้อ netB นั้นก็จะเป็นตัวเริ่มต้นทำให้เกิดโรคนี้ การป้องกันโรคบิดที่สำคัญก็คือ การใช้ยากันบิดผสมในอาหารสัตว์ให้ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นวิธีที่ง่ายและทำให้ได้ผลดีอีกด้วย

                นอกจากนี้ในการควบคุมเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคในลำไส้ไก่ยังมีอีกหลายวิธีเช่น การใช้แบคทีเรียที่ไม่ก่อโรคเป็นตัวควบคุม โดยเราให้แบคทีเรียกลุ่มนี้เข้าไปก่อนหลังจากนั้นมันก็จะเข้าไปจับกับส่วนต่างๆของพื้นที่ในลำไส้ ซึ่งหลังจากนั้นเชื้อที่ก่อโรคก็จะไม่สามารถที่จะจับกับลำไส้ได้ มันก็จะไม่สามารถที่จะก่อโรคได้ตามมา นอกจากนี้ก็สามารถที่จะใช้กรดต่างๆที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกายเป็นตัวควบคุมการเพิ่มจำนวนของเชื้อภายในร่างกายได้ เพราะกรดมันจะทำให้ระดับของ ph ในลำไส้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเชื้อที่ก่อโรคก็จะไม่สามารถที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นได้ ดังนั้นมันก็จะไม่สามารถที่จะก่อโรคภายในลำไส้ได้

                คุณพลาสคอล จากประเทศฝรั่งเศสได้มีการพูดถึงเรื่องของการใช้ยา tylosin เอาไว้ ดังตารางที่ 7: ว่า ยา tylosin แต่ละชนิดจะมีประสิทธิภาพไม่เท่ากัน ดังนั้นการที่จะใช้ยา tylosin จะต้องพิจารณาแหล่งที่มาให้ดี เพื่อที่จะใช้ให้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกติแล้วยา tylosin มันจะสามารถที่จะละลายน้ำได้ดีและสามารถที่จะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายที่ผนังลำไส้ได้ดีอีกด้วย หลังจากที่มันเข้าสุ่ร่างกายแล้ว มันจะเข้าไปจับกับโปรตีนในร่างกายแล้วนำเข้าไปใช้ตามอวัยวะต่างๆภายในร่างกายต่อไป ซึ่งครึ่งชีวิตของยา tylosin จะมีค่าโดยประมาณ 15-30 นาที   และประสิทธิภาพของการย่ายสลายเพื่อที่จะนำมาใช้ในร่างกายจะประมาณ 60-70%  ของที่กินเข้าไปทั้งหมด

                ยา tylosin เมื่อมีการดูดซึมเข้าไปในร่างกายแล้ว มันจะมีความเข้มข้นสูงสุดที่ ปอด ตับ  ไต และหัวใจ และหลังจากนั้นมันก็จะมีการย่อยสลาย ออกจากร่างกายย่างรวดเร็ว  ยา tylosin มันจะมีฤทธิในการควบคุมเชื้อ mycoplasma และควบคุมเชื้อแบคทีเรียแกรทบวกทุกอย่าง  โดยประเทศกลุ่ม EU จะอนุญาตให้มีการใช้ยา tylosin ในการควบคุมเชื้อ mycoplasma และป้องกันเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกในไก่ด้วย เพื่อป้องกันปัญหาการเกิดโรคลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตายตามมา และยังสามารถป้องกันโรคโพรงจมุกอักเสบในไก่งวงได้ด้วย

                นอกจากนี้ คุณพลาสคาล ได้บอกว่ายา tylosin ได้มีการใช้มาเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้วด้วย และเป็นยาที่เลือกใช้ในการรักษาโรคด้วย นอกจากนี้ยาตัวนี้ มันยังละลายน้ำได้ดีอีกด้วยและมันยังทำให้ดื้อยาต่อเชื้อได้อยากอีกด้วย ซึ่งจัดได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับการเลือกใช้ยาตัวนี้ แต่ถึงอย่างใรก็ตาม เค้าก็กล่าวว่า ควรที่จะใช้ยาตัวนี้ตามข้อแนะนำให้ถูกต้องและล่าสุดมีงานทดลองวิจัยกล่าวว่า ยา tylosin มันสามาถที่จะช่วยป้องกันการอักเสบในร่างกายได้อีกด้วย



ภาคผนวก

ตารางที่ 1: สัตว์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ที่เชื้อ Mycoplasma gallisepticum (Mg) และ Mycoplasma synoviae (Ms)   จะสามารถที่จะอาศัยอยู่ได้  ก็จะมีดังนี้

ชนิดสัตว์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
Mg
Ms
ไก่
+
+
ไก่งวง
+
+
ไก่ฟ้า
+
+
นกกระทา
+
+
นกยูง
+
-
นก เควล
+
+
นกแก้ว
+
-
เป็ด
+
+
ห่าน
+
+
นกป่า
+
+
หงษ์
-
+



ตารางที่ 2: การส่งเสริมความรุนแรงของโรค ระหว่าง เชื้อ M.synoviae และ เชื้อ Infectious bronchitis ( การทำให้เกิดโรคโดยวิธี การหยอดเชื้อเข้าทางรูจมูก )

ชนิดเชื้อโรค
Ms
Ms+IB D1466
Ms+IB  M41
จำนวนไก่ที่มีผลกระทบ
4/19
6/18
11/20
%ของผลกระทบ
21
33
55



ตารางที่ 3 : การเสริมความรุนแรงของการเกิดโรค ระหว่างเชื้อ M. synoviae กับเชื้อ IBV  ซึ่งจะมีผลทำให้เปือกไข่ผิดรูปไป

ติดเชื้อ
ไม่ติดเชื้อ
Ms
IBV  D1466+Ms
ค่าเฉลี่ย(ไข่/แม่/วัน)
0.75
0.49
0.54
EAA**
0
7
4

**EAA = eggshell apex abnomalities



ตารางที่ 4: ผลกระทบทางธุรกิจ ต่อการเกิดโรค  EAA ในไก่

ผลกระทบทางธุรกิจ
ผลกระทบที่เกิดขึ้นที่ฟาร์ม

%ผลผลิตไข่
-2-3
%ไข่ที่ลดลง
+2-3
%อัตราการลดลงของไข่
+2-3
ปริมาณแรงงานที่เพิ่มขึ้น
??


ผลกระทบที่เกิดขึ้นที่ร้านค้า

เพิ่มจำนวนแรงงาน
??
%ไข่เสียหายเนื่องจากการขนส่ง
<=10



ตารางที่ 5: การใช้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ M.synoviae และป้องกันปัญหา EAA ในไก่พ่อแม่พันธ์


ไม่ให้วัคซีน
ให้วัคซีน
ค่าเฉลี่ย(ไข่/แม่/วัน)
0.48
0.54
EAA**
22.4
11.9

**EAA = eggshell apex abnomalities



ตารางที่ 6: ชนิดของสารพิษที่ผลิตขึ้นจากเชื้อ Clostridium perfringens

ชนิดเชื้อ
%ของวิการรอยโรคที่พบในไก่
สารพิษ netB
7
0
-
8
0
-
17
0
-
48
11.11
+
56
48.15
+
61
55.56
+



ตารางที่ 7 : ประสิทธิภาพของการใช้ยา  Tylosin ในการรักษาโรคลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตาย

ชนิดยา Tylosin
ความสัมพันธ์ของปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ไก่
A
1.00
B
0.83
C
0.75
D
0.35



เอกสารอ้างอิง

·       Non  .2010.  The use of tylosin for mycoplasmosis and necrotic  enteritis control , International  poultry  production , V19(4) :  19-20 p.


1 ความคิดเห็น: