วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

การจัดการไก่เนื้อในช่วง 7 วันแรก


ประจำเดือน  กรกฎาคม   2011

แปลและเรียบเรียงโดย  .สพ.ชัชวาลย์   สอนศรี

ผช.ผจญ. วิชาการ-สุขภาพไก่เนื้อ



มหัศจรรย์ใน  7  วันแรก  ของการเลี้ยงไก่เนื้อ

( Seven  is  the  magic  number  )



            การจัดการการเลี้ยงไก่เนื้อ หรือไก่งวง ในช่วง 7 วันแรกนั้น จะถือได้ว่าเป็นช่วงที่มีความสำคัญต่อช่วงชีวิตของการเจริญเติบโตของไก่มาก จากงานศึกษาวิจัยจะพบว่า ในการให้อาการช่วงแรก หรือ Pre-starter นั้นจะต้องเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของสารอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารที่สูง เหมาะต่อการเจริญเติบโตของระบบโครงร่างกาย  ระบบการย่อยอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน  และทำให้อัตราการแลกเนื้อ (FCR) ต่ำด้วย และเมื่อพิจารณาจากภาพรวมทั้งหมดแล้วจะพบว่า ผลกำไรที่ได้ก็จะเพิ่มขึ้นตามมาด้วย

                ในรายงานฉบับนี้จะเป็นการกล่าวถึง การจัดการการเลี้ยงไก่เนื้อในช่วง 7 วันแรก ซึ่งเราถือได้ว่าเป็น 7 วันที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการเลี้ยงไก่ทั้งช่วงชีวิตของไก่  ในช่วงของการเจริญเติบโตในช่วงแรกของไก่เราไม่รู้หรอกว่ามันจะมีการเจริญเติบโตที่ดีหรือแย่ แต่สิ่งหนึ่งที่เรารู้คือ สายพันธ์ของไก่เนื้อที่นำมาเลี้ยงนั้นในตอนนี้มันเป็นสายพันธ์ที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วและให้ผลผลิตที่สูงทั้งในไก่เนื้อและไก่งวง การที่นำสายพันธ์ไก่ที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาเลี้ยงนั้น ก็เพื่อที่จะทำให้แข่งขันทางการตลาดกับที่อื่นๆได้ ดังนั้นในการจัดการลูกไก่ในช่วง 7 วันแรกก่อนไก่จะมีการเจริญเติบโตต่อไปนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นมาก โดยในช่วงแรกจะเน้นไปที่การพัฒนาการของลำไส้ หรือระบบการย่อยอาหารของลูกไก่ให้มีการเจริญเติบโตที่ดีก่อน ซึ่งเทคนิคใหม่ที่ได้มีการพัฒนาขึ้นนี้จะเป็นการเพิ่มจำนวนของพลังงานเข้าไปในอาหารให้มากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสายพันธ์ไก่ที่นำมาเลี้ยงด้วย ซึ่งเทคนิคใหม่ที่ว่านี้ได้มีการพิสูตรแล้ว โดยการใช้ยีสผสมเข้าไปในอาหารไก่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการย่อยโปรตีนในอาหารไก่ให้มากขึ้น แล้วนำมาให้ไก่เล็กกิน ซึ่งผลก็คือมันสามารถที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของการเลี้ยงและเพิ่มผลกำไรให้มากขึ้นได้ด้วย



ช่วงชีวิต 7 วันแรกของลูกไก่

                ในการเลี้ยงไก่ที่เป็นแบบอุสาหกรรมนั้น ลูกไก่ในช่วง 7 วันแรกจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมากขึ้น 20-25% ของมาตรฐานการเจริญเติบโตของไก่ ซึ่งเมื่อเทียบกับเมื่อหลายปีที่ผ่านมาจะพบว่ามันจะมีค่าแค่ 15% เท่านั้นเอง  อาหารที่จะให้ในช่วงที่เป็นลูกไก่และอาหารที่จะให้ในช่วง 7วันแรกนั้นจะต้องเป็นอาหารที่มีส่วนผสมของอาหารที่ดี มีคุณค่าทางอาหารที่ไก่ต้องการครบถ้วนจึงจะทำให้ไก่มีการพัฒนาการการเจริญเติบโตในช่วง 7 วันแรกได้ดี ซึ่งเมื่อไก่ได้รับอาหารในช่วงแรกที่ดี ไก่ก็จะมีการเจริญเติบโตที่ดี ความสม่ำเสมอของฝูงก็จะดี และสุขภาพของไก่ก็จะดีตามมาด้วยซึ่งสุดท้ายก็จะทำให้ผลกำไรมากขึ้นด้วย ในอาหารไก่ในช่วง 7 วันแรกนั้น ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงไขมัน  โปรตีน และคาร์โปรไฮเดรท ที่เหมาะสมใหม่ มันก็จะทำให้อาหารไก่ที่กินเข้าไปนั้นถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และเมื่อเทียบราคาอาหารที่ใช้ไปกับอัตราการเจริญเติบโตที่เพิ่มมากขึ้นก็จะพบว่า มันจะมีผลทำให้ต้นทุนนั้นต่ำลงได้

                ในส่วนของการพัฒนาการของลำไส้ไก่ หรือระบบย่อยอาหารของไก่นั้น ถ้าในช่วง 7 วันแรกมันมีการพัฒนาการที่รวดเร็วมันก็จะมีผลทำให้ลำไส้ของไก่สมบูรณ์เร็วขึ้นและมันก็จะย่อยอาหารที่ไก่กินเข้าไปได้ดีขึ้น สุดท้ายก็จะทำให้อาหารที่ย่อยได้นั้นถูกนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน (ดังภาพที่ 1) ดังนั้นสูตรของอาหารไก่ในช่วงแรก หรือ Pre – starter จึงถือได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญมากที่จะช่วยทำให้ไก่อายุ 1 -7 วันแรกมีการเจริญเติบโตและมีการพัฒนาการที่ดีขึ้น ซึ่งน้ำหนักไก่ในช่วง 1 – 7 วันแรก จะเพิ่มขึ้นประมาณ 21%  และที่อายุ 42 วัน น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น 9% ถ้าเทียบกันระหว่าง อาหาร Pre-starter ที่ผสมพิเศษกับที่เป็นแบบปกติจะพบว่ามันจะมีราคาต่อหน่ายที่สูงขึ้น แต่ว่าอาหาร Pre-starter ที่ผสมสูตรพิเศษนั้นมันจะทำให้ไก่มีการเจริญเติบโตที่ดีกว่า และเมื่อดูผลการเลี้ยงทั้งฝูงจะพบว่าทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และสุดท้ายก็จะทำให้กำไรที่ได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

               

การพัฒนาของลำไส้ไก่

                ในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของลำไส้นั้นส่วนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งก็คือ โปรตีนที่ผสมอยู่ภายในอาหารระยะแรก หรือ Pre-starter นั้นเอง ซึ่งปริมาณโปรตีนที่ผสมอยู่ภายในอาหารระยะแรกนั้นจะต้องมีปริมาณที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของไก่ อย่างไรก็ตาม ในงานการศึกษาเกี่ยวกับโปรตีนที่ผสมอยู่ภายในอาหารไก่ระยะแรกนั้นได้มีการสรุปว่า ปริมาณของโปรตีนที่ผสมอยู่ภายในอาหารไก่นั้น มันจะเป็นตัวที่จะไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว อย่างเช่น เซลล์วิลไลของลำไส้ เซลล์สมอง  เซลล์ไขกระดูก และ เซลล์ภูมิคุ้มกันต่างๆของร่างกาย ซึ่งสูตรอาหารในระยะแรกของไก่นั้นจึงถือได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก

                ในการศึกษาเรื่องการเจริญเติบโตของลำไส้นั้น จะพบว่าถ้ามีการใช้อาหารในสูตรที่เหมาะสมนั้นมันจะทำให้วิลไลที่ลำไส้เล็กสามารถเจริญเติบโตที่สูงขึ้นมาก ซึ่งสูตรอาหารที่ผสมโปรตีนที่จำเพาะมันจึงมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของลำไส้มาก ซึ่งวิลไลภายในลำไส้นั้นมันจะเป็นส่วนที่ช่วยในการดูดซึมสารอาหารที่กินเข้าไป อย่างไรก็ตาม ชนิดของโปรตีนที่นำมาใช้ในการผสมในอาหารไก่นั้นจะต้องเป็นโปรตีนที่ดี เป็นโปรตีนที่บริสุทธิ์ถึงจะช่วยในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของลำไส้ได้ดี และนอกจากนี้มันยังช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายให้ดีขึ้นอีกด้วย โดยมันจะทำให้ค่า ADG เพิ่มขึ้น และสุดท้ายมันก็จะทำให้น้ำหนักไก่จับสูงขึ้นตามไปด้วย จากตารางที่ 1 ถ้ามีการผลิตอาหารระยะแรกหรือ Pre – starter ออกจำหน่ายทั่วๆไป และมีการนำไปใช้อย่างจริงจัง มันก็ย่อมจะส่งผลทำให้ผลผลิตไก่ที่ออกมามีผลผลิตที่ดีและมีผลกำไรที่มากขึ้น



การประยุกต์ใช้ภายในฟาร์ม

                ในสูตรอาหารตามที่กล่าวมาถ้ามีการนำไปผลิตในเชิงการค้าและนำไปใช้ภายในฟาร์มได้อย่างจริงจัง มันก็จะช่วยทำให้ผลผลิตไก่ดีขึ้นและต้นการผลิตก็จะต่ำลง ผลิตภัณต์อาหาร NuPro ซึ่งอาหารชนิดนี้มันจะมีแหล่งโปรตีนที่มาจากยีสที่ผสมอยู่ภายในอาหารนั้น และยีสที่ผสมอยู่นี้มันจะมีสายโปรตีนที่ไก่จะนำไปใช้ต่อไป โดยอาหารในระยะแรก หรือ     Pre – starter นี้มันจะเหมาะสำหรับไก่ในช่วงอายุ 1-7 วันแรก โดยมันจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของไก่ตามที่กล่าวมา จากตารางที่ 2 จะเป็นการเปรียบเทียบการใช้อาหาร NuPro ในไก่ช่วงอายุ 1-7 วัน ซึ่งจะพบว่าไก่ที่กินอาหารที่ผสมยีสที่ชื่อโททุลานั้น มันจะมีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น ซึ่งโปรตีนจากยีสนี้มันจะมีประโยชน์ช่วยในการเจริญเติบโตของไก่ได้ดี ดังรูปที่ 2 จะพบว่าโปรตีนจากยีสจะช่วยทำให้ไก่ในไปใช้ประโยชน์



การพัฒนาการของไก่

                การพัฒนาการของลำไส้ไก่โดยมากแล้วมันจะไม่มีผลเฉพาะกับผลผลิตไก่ที่เลี้ยงแต่ มันยังไปกระตุ้นทำให้ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายไก่เจริญเติบโตได้ดีขึ้นด้วย ดังนั้นในช่วง 7 วันแรก ของการเจริญเติบโตของไก่ มันจะเป็นช่วงที่สำคัญในการกระตุ้นเจริญเติบโตของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายของไก่ด้วย ซึ่งการพัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกันของไก่นี้มันจะไม่เพียงใช้แต่พลังอย่างเดียวเท่านั้นแต่มันจะยังคงใช้โปรตีนที่ย่อยและดูดซึมได้รวดเร็วด้วย มันถึงจะมีการพัฒนาการที่รวดเร็ว ในประเทศอังกฤษได้มีการศึกษาเรื่องของการใช้อาหารสูตรผสมพิเศษ หรือ NuPro ในการเลี้ยงไก่ในระยะแรก  ไม่ใช่เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของไก่เพียงอย่างเดียวแต่จะช่วยเพิ่มการพัฒนาของระบบภูมิคุ้มกันในตัวไก่ด้วย โดยเฉพาะระบบต่อมน้ำเหลืองของร่างกาย  ในการใช้อาหารแบบนี้ มันจะทำให้การเจริญของไก่ช่วงไก่โตเจริญเติบโตได้ดี และนอกจากนี้มันจะช่วยลดอัตราการตายและช่วยลดเปอร์เซ็นซากที่จะคัดทิ้งที่โรงเชือดอีกด้วย ซึ่งข้อมูลนี้จะสามารถติดตามได้จากโรงเชือดที่มีการเลี้ยงไก่เป็นแบบอุตสาหกรรมอยู่แล้ว

                ท้ายนี้ สามารถที่จะสรุปได้ว่า การใช้อาหารที่มีส่วนผสมแบบแบบพิเศษ มาใช้เป็นอาหารในระยะแรกของการเลี้ยงไก่นั้นสามารถที่จะเพิ่มการเจริญเติบโตของไก่และถ้าดูผลผลิตโดยภาพรวมแล้วก็จะพบว่ากำไรที่ได้นั้นมันจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าไก่กลุ่มที่ไม่ได้มีการจัดการอาหารแบบนี้ ซึ่งตอนนี้ไก่ที่เรานำมาเลี้ยงนั้นเป็นไก่ที่มีสายพันธ์ที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วอยู่แล้ว ดังนั้นถ้าเรามีการจัดการการให้อาหารที่ดี  ส่วนผสมของอาหารที่ใช้ดี ก็ย่อมจะมีผลทำให้การเจริญเติบโตของไก่ดีตามไปด้วย



การเจริญเติบโตของไก่

                ในการที่จะกระตุ้นให้ไก่มีการเจริญเติบโตให้ได้มากที่สุดตามสายพันธ์ของมันนั้น อาหารที่นำมาเลี้ยงไก่จะต้องเป็นอาหารที่ดี สูตรอาหารที่จะนำมาใช้ในการเลี้ยงไก่นั้นจะต้องดี ดังนั้นเทคนิคการจัดการการให้อาหารไก่แบบใหม่ๆจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อที่จะทำให้การเจริญเติบโตของไก่สูงกว่ามาตรฐานสายพันธ์ของมัน การให้อาหารไก่ในระยะแรกที่ดีนั้นมันจะส่งผลทำให้การเจริญเติบโตของไก่ดีขึ้น และสุดท้ายมันก็จะทำให้น้ำหนักไก่จับที่จะส่งขายนั้นดีตามไปด้วย ถึงอย่างไรก็ตาม ในการจัดการการให้อาหารแบบนี้ถ้าจะให้ได้ผลดีควรจะใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ที่มีขนาดใหญ่เพราะถ้าดูผลผลิตโดยภาพรวมแล้วมันจะทำให้เห็นผลกำไรที่ชัดเจน ซึ่งในสูตรอาหารที่ผสมขึ้นพิเศษนี้เมื่อนำมาใช้เป็นอาหารช่วงแรกในลูกไก่มันไม่เพียงแต่จะกระตุ้นการเจริญเติบโตของลำไส้ สร้างระบบภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการเจริญเติบโตเท่านั้นแต่มันยังทำให้ผลกำไรสุดท้ายของการเลี้ยงไก่ดีมากขึ้นเท่านั้น เพราะอาหารที่ใช้ไปมันจะมีการย่อยได้อย่างรวดเร็วและสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ซึ่งอาหารสูตรพิเศษที่กล่าวมานี้มันจะดีกว่าอาหารปกติทั่วๆไปที่นำมาใช้ในการเลี้ยงไก่อยู่แล้ว แต่ต้นทุนของอาหารต่อหน่วยมันก็จะแพงกว่าอาหารปกติเช่นกัน  อย่างไรก็ตาม เมื่อไก่อายุ 1-7 วันกินอาหารตามโปรแกรมแล้ว น้ำหนักมันก็จะได้มากกว่า 200 g./ตัว ที่อายุ 7 วัน ซึ่งถ้าดูต้นของอาหารกับน้ำหนักไก่ที่ได้ก็จะพบว่าต้นทุนการเลี้ยงมันจะต่ำลง และเมื่อเลี้ยงไก่ไปจนถึงไก่จับ มันก็จะทำให้ผลการเลี้ยงดีตามมา ซึ่งจะพบว่าไก่มีอัตราการเจริญเติบโตดีขึ้น ค่า ADG สูงขึ้น  ค่า FCR จะต่ำลง และอัตราการสูญเสียสะสมจะต่ำด้วยเช่นกัน ซึ่งผลกำไรรวมของการเลี้ยงไก่ทั้งฝูงก็จะดีตามมาด้วย สุดท้ายจะกล่าวได้ว่า ถ้าคุณภาพของอาหารที่นำมาใช้ในการเลี้ยงไก่ดีแล้ว อัตราการเจริญเติบโตในช่วง 7 วันแรกได้ตามกำหนดแล้ว มันก็จะทำให้การเจริญเติบโตของไก่ได้ตามมาตรฐานของสายพันธ์ที่เลี้ยงด้วย



โปรแกรมการใช้อาหารระยะแรก (หรือ Pre-starter)  อย่างมีประสิทธิภาพ

                ปัจจัยที่จะส่งผลทำให้การใช้อาหารไก่ในระยะแรกให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จะมีดังนี้

·       จะต้องให้ไก่กินอาหารให้ได้มากที่สุด และ มีการย่อยที่มากที่สุด

·       อาหารที่กินเข้าไป มันจะมีการย่อยโดยการใช้เอมไซด์ ที่อยู่ภายในตัวไก่หลังจากที่มันฟักออกมา

·       ในการย่อยได้ของอาหารที่เป็นอาหารระยะแรก หรือ Pre-starter ในไก่อายุน้อยมันจะย่อยสารอาหารจำพวก โปรตีน คาร์โบไฮเดรท และไขมัน ได้น้อยกว่าไก่ที่อายุมาก

·       ควรที่จะใส่เกลือผสมลงไปในอาหารด้วยเพื่อเพิ่มการกินน้ำของไก่ และเพิ่มการกินอาหารของไก่ด้วย และนอกจากนี้ยังเพิ่มการดูดซึมสารอาหารในช่วงที่ลำไส้ทำงานได้ไม่เต็มที่ด้วย

·       ขนาดของเม็ดอาหารจะต้องมีขนาดที่พอเหมาะ ไก่สามารถกินได้

·       ปริมาณของโปรตีนที่เป็นส่วนผสมในอาหารจะต้องมีปริมาณที่เพียงพอด้วย และนอกจากนี้กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นจำพวก ไกซีนและซีลีน ก็จะต้องมีเพียงพอด้วยเช่นกัน

·       สารผสมล่วงหน้าที่จะใช้ผสมในอาหารจะต้องมีเพียงพอและผสมให้ได้ถูกต้องเพื่อที่จะใช้ความคุมเชื้อที่ก่อโรคภายในตัวไก่  สารพิษจากเชื้อราในอาหาร ป้องกันเหม็นหืน และป้องกันเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด

·       โปรตีนที่ได้มาจากยีสที่ผสมอยู่ในอาหาร เมื่อไก่กินเข้าไปมันจะไปทำให้เซลล์ของกล้ามเนื้อของไก่เจริญเติบโตได้เร็วขึ้น















ภาคผนวก

รูปภาพที่ 1 : ผลของอายุไก่ ที่มีต่อประสิทธิภาพการย่อยได้ของ Lysine ที่จะทำให้ได้พลังงานไปใช้ในการเจริญเติบโตในไก่เนื้อ
































ตารางที่ 1 : ผลของการใช้อาหารไก่ในช่วงแรก หรือ Pre – starter ต่อการเจริญเติบโตของไก่เนื้อเพศผู้


























ตารางที่ 2 : ผลของการใช้โปรตีน หรือ ชื่อทางการค้าคือ NuPro เพื่อใช้เสริมการเจริญเติบโตของไก่ โดยจะวัดค่า อัตราการเจริญเติบโต และผลการเจริญเติบโตของลำไส้เล็กส่วนกลาง(Histology)  ในไก่เนื้อ
























ตารางที่ 3 : ผลของการใช้ NuPro ต่อประสิทธิภาพของการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (macrophage) การพัฒนาของต่อมน้ำเหลืองภายในร่างกาย และน้ำหนักตัวของไก่เนื้อ ที่ทดลอง
































รูปภาพที่ 2 : ผลกระทบของของสูตรอาหารของ NuPro ต่อจำนวนของภูมิคุ้มกันของร่างกาย (macrophage) ภายในลำไส้ของไก่ในช่วงอายุ 7 วันแรก ของการเลี้ยงไก่เนื้อ




























เอกสารอ้างอิง

·       Paul G. .20110. Seven  is  the  magic  number  , World  Poultry , o6  Jul  :  1 - 4 p.

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ผลของ Mycotoxin ในอาหารสัตว์


ประจำเดือน  กันยายน   2011

แปลและเรียบเรียงโดย  .สพ.ชัชวาลย์   สอนศรี

ผช.ผจญ. วิชาการ-สุขภาพไก่เนื้อ



ผลกระทบของสารพิษจากเชื้อราในอาการสัตว์ต่อการเลี้ยงสัตว์ปีก

( Interaction  and  effects  of  mycotoxins  in  poultry  )



            สารพิษจากเชื้อในอาหารสัตว์ (Mycotoxin) เกิดจากขบวนการสร้างของเชื้อราแล้วทำให้เกิดการปนเปื้อนในเมล็ดพันธ์พืชที่จะนำมาผลิตเป็นอาหารสัตว์ ซึ่งปัญหานี้จะพบได้ทั่วโลก  เชื้อรากลุ่มที่สร้างสารพิษได้นั้นจะมีอยู่หลายชนิด เช่น  Aspergillus , alternaria , claviceps , fusarium และ penicillium  เป็นต้น ซึ่งเป็นเชื้อราที่พบอยู่ตามธรรมชาติ และถ้าเชื้อรากลุ่มพวกนี้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมแล้ว มันก็จะมีการสร้างสารพิษขึ้นมา ซึ่งสารพิษที่ว่านี้ถ้าไก่ได้รับเข้าไป มันก็ย่อมจะก่อผลเสียหายทางธุรกิจตามมาในหลายๆขั้นตอนของการผลิตไก่ จากที่กล่าวมาทั้งหมดสารพิษที่เกิดจากเชื้อรานี้ มันจะมีผลกระทบกับระบบการเลี้ยงไก่เป็นอย่างมาก ดังนั้นในวงจรการเลี้ยงไก่จะต้องป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อราขึ้นในอาหารสัตว์ และจะต้องป้องกันไม่ให้เชื้อราเข้าไปสู่ตัวไก่ เพื่อป้องกันการสูญเสียที่จะตามมา



ผลกระทบของสารพิษจากเชื้อราในอาหารสัตว์

                สารพิษจากเชื้อรามากกว่า 300 ชนิด ที่ได้มีการรายงานเอาไว้ เกี่ยวกับ ชนิดของสารพิษ กลไกการออกฤทธิ์ พิษที่เกิดขึ้นในร่างกาย รวมไปถึงโครงสร้างของสารพิษ รายละเอียดทั้งหมดนี้ค่อนข้างจะมีครบถ้วนสมบรูณ์อยู่แล้วในรายงานเอกสารต่างๆ

                สารพิษจากเชื้อราในอาหารสัตว์โดยมากแล้วจะพบได้มากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป ซึ่งทั้งนี้อาจจะรวมไปถึงเมล็ดพืชที่เป็นส่วนประกอบของอาหารสัตว์และอาหารสัตว์ที่ผลิตเสร็จแล้วก็ตาม  สารพิษจากเชื้อราที่พบในอาหารสัตว์นั้น มันจะทำให้ไก่แสดงอากาออกมาตั้งแต่พบอาการน้อยไปจนถึงพบอาการมาก โดยทั้งนี้มันจะขึ้นกับชนิดของสารพิษจากเชื้อราที่ได้รับเข้าไปยิ่งถ้ามีชนิดของสารพิษจากเชื้อรามากมันก็จะทำให้ไก่แสดงอาการออกมามากด้วยเช่นกัน

                ความเป็นพิษของสารพิษจากเชื้อราในอาหารสัตว์นั้น ปัจจัยที่จะส่งผลทำให้มันมีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหนมันจะประกอบไปด้วย ชนิดของสารพิษจากเชื้อราที่ได้รับเข้าไปและปริมาณของสารพิษจากเชื้อราแต่ละชนิดที่ได้รับเข้าไปด้วย แต่โดยทั่วไปสารพิษจากเชื้อรามันจะมีอยู่ในอาหารสัตว์ที่ผลิตสำหรับไก่อยู่แล้ว แต่ว่าปริมาณที่มีอยู่นั้นมันจะอยู่ในช่วงของค่าของสารพิษจากเชื้อราในอาหารที่จะรับได้หรือไม่ และนอกจากนี้ความรุนแรงของสารพิษจากเชื้อราในอาหารจะมีความรุนแรงที่มากขึ้นมากถ้ามีปัจจัยอื่นๆร่วม ไม่ว่าจะเป็น การติดเชื้อโรคต่างๆ ไก่ป่วย สภาพสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี สภาวะความเคลียดที่เกิดขึ้นเนื่องจากความร้อนหรืออากาศเย็น  ปริมาณของกาซแอมโมเนียที่สูง ได้รับสารพิษที่เป็นพวกโลหะหนัก เป็นต้น ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า ความรุนแรงของสารพิษในอาหารที่ได้รับเข้าไปนั้น มันจะรุนแรงมากน้อยขนาดไหนมันก็จะขึ้นอยู่กับสภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณนั้นๆเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุด

                โดยทั่วไปแล้วส่วนประกอบของอาหารที่จะนำมาผลิตเป็นอาหารสำเร็จรูปมักจะมาจากหลายๆพื้นที่และสุดท้ายแล้วอาหารสำเร็จรูปที่ผลิตได้นั้นมันก็ย่อมจะประกอบไปด้วยชนิดของสารพิษจากเชื้อราหลายๆตัวรวมกัน และนอกจากนี้แล้วเชื้อราหนึ่งชนิดมันก็จะยังคงสามารถที่จะผลิตสารพิษได้หลายๆชนิดด้วยเช่นกัน ดังนั้นถ้าอาหารที่ผลิตแล้วปนเปื้อนเชื้อรามันก็จะมีการปนเปื้อนสารพิษจากเชื้อราหลายๆชนิดไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า การปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อราในอาหารหลายๆชนิดนั้น มันสามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น  2 แหล่งที่มา คือ 1.สารพิษจากเชื้อราที่มาจากวัตถุดิบหลายๆชนิดที่นำมาผลิตเป็นอาหารสำเร็จรูป และ 2.ปนเปื้อนมาจากเชื้อราเพียงชนิดเดียวแต่สามารถที่จะผลิตสารพิษจากเชื้อราออกมาได้หลายๆชนิด  เมื่อสารพิษจากเชื้อรามีการปนเปื้อนในอาหารที่จะนำมาใช้ในการเลี้ยงไก่แล้ว มันก็จะมีผลกระทบที่จะทำให้เกิดขึ้นกับตัวไก่ โดยแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ 1.ทำสารพิษจากเชื้อราตัวใดตัวหนึ่งออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น 2.สารพิษจากเชื้อราทั้งสองตัวออกฤทธิ์หักล้างกัน และ 3.สารพิษจากเชื้อราทั้งสองตัวออกฤทธิ์เสริมกัน  ดังตารางที่ 1 :

            ปัญหาของการได้รับสารพิษจากเชื้อราจากอาหารที่ไก่กินเข้าไปนั้น โดยมากแล้วมันมักจะส่งผลกับอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ที่มีขนาดใหญ่ๆ  แต่ผลกระทบของสารพิษจากเชื้อราที่สร้างขึ้นในฟาร์มหรือพื้นที่การเลี้ยงไก่นั้นมันมักจะมีความรุนแรงน้อยกว่าการทดลองในห้องปฏิบัติการ เพราะในห้องทดลองนั้นสามารถที่จะควบคุมสภาพสิ่งแวดล้อม สภาพของฝูงไก่ที่เลี้ยง และปัญหาความเคลียดต่างๆได้  ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า ไม่ว่าไก่ที่เลี้ยงจะได้รับสารพิษจากเชื้อราเพียงชนิดเดียวหรือหลายๆชนิดรวมกัน มันก็ย่อมจะก่อให้เกิดผลกระทบกับไก่ได้ทั้งนั้น เพียงแต่ว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นมันจะมีความรุนแรงมากน้อยขนาดไหนและสารพิษจากเชื้อราที่ได้รับเข้าไปนั้นมันเป็นชนิดอะไรด้วย



Aflatoxin  / Ochratoxin A

                สารพิษอฟ่าท๊อกซิน (Aflatoxin) เป็นสารพิษที่ทำให้ตับเกิดการอักเสบโดยมากจะพบในไก่รุ่นซึ่งจะพบตับมีขนาดใหญ่ขยายมากขึ้น โดยตับที่ขยายใหญ่ขึ้นมันจะมีลักษณะซีด  มีเส้นใยเข้าแทรกและมีไขมันเข้าแทรก ส่วนสารพิษออคล่าท๊อกซิน (Ochratoxin A) มันจะมีผลทำให้ไตอักเสบในไก่รุ่น

                แต่เมื่อสารพิษจากเชื้อราทั้ง 2 ชนิดนี้มันมีอยู่ในอาหารไก่และเมื่อไก่ได้รับเข้าไป มันจะไปมีผลทำให้เสริมการออกฤทธิ์ซึ่งกันและกัน โดยจะทำให้มันมีความรุนแรงมากขึ้น ( ดังตารางที่ 2 ) ความรุนแรงของความเป็นพิษมันจะมากเมื่อสารพิษจากเชื้อราทั้ง 2 ตัวนี้ผสมกันแต่ถ้ามีเฉพาะตัวใดตัวหนึ่งความรุนแรงของความเป็นพิษจะลดลง แต่อย่างไรก็ตามอวัยวะที่จะมีผลมากเมื่อได้รับสารพิษจากเชื้อราทั้ง 2 ชนิดนี้ผสมกัน คือ ไต ของไก่ (ดังตารางที่ 3)

                 อวัยวะส่วนที่จะได้รับผลกระทบในลำดับถัดไปคือ จะพบว่ามีไขมันเริ่มแทรกเข้าไปภายในตับของไก่ ทำให้ตับมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งผลที่ว่านี้มันจะมีสาเหตุมาจากสารพิษอฟ่าท๊อกซินนั้นเอง หรือที่เรียกว่าโรค Aflatoxicosis แต่ว่าในกรณีที่ได้รับสารพิษ ออคล่าท๊อกซิน (Ochratoxin A) ร่วมด้วย มันจะมีผลทำให้ตับขยายใหญ่ขึ้นมากกว่าปกติ ก็เป็นไปได้ ( ดังตารางที่ 2 ) ดังนั้นจะกล่าวได้ว่า ในกรณีที่ได้รับสารพิษจากเชื้อราทั้ง 2 ชนิดพร้อมกันนั้นมันจะมีผลช่วยในการเสริมการออกฤทธิ์ซึ่งกันและกัน ทำให้ความรุนแรงของการเกิดโรคสูงขึ้น และอาการของโรคที่เกิดขึ้นมันจะแสดงออกได้หลายๆแบบ ให้เห็นได้ ในส่วนของวิการรอยโรคจะพบว่า วิการรอยโรคที่เกิดจากสารพิษออคล่าท๊อกซิน จะคงทนอยู่นานมากกว่าสารพิษอฟ่าท๊อกซิน

                ส่วนของการฟื้นคืนของอวัยวะทั้ง 2 นั้น( ตับ และไต )  จะพบว่า เมื่อไก่ได้รับสารพิษจากเชื้อราระหว่าง อฟ่าท๊อกซิน และ ออคล่าท๊อกซิน จะพบว่าตับสามารถที่จะพื้นกลับมา หรือซ่อมแซมให้ดีขึ้นได้มากกว่าไต ซึ่งวิการที่ตับและไต เมื่อเกิดวิการรอยโรค มักจะมีชื่อเรียกว่า Hepatotoxin และ Nephrotoxin  ตามลำดับ และนอกจากนี้จะพบว่า ถ้าไก่ได้รับสารพิษจากเชื้อราทั้ง 2 ชนิดพร้อมกันคือ  Aflatoxin และ  ochratoxin A  มันจะส่งผลทำให้พบวิการ จุดเลือดออกที่ปีกไก่มากขึ้น และยังพบวิการจุดฮ้อเลือด (bruising) ได้ทั่วไปตามลำตัว โดยจะพบหลังจากไก่ได้รับสารพิษจากเชื้อราไปแล้วอย่างน้อย 3 สัปดาห์ขึ้นไป



Citrinin  /  Ochratoxin A

                สารพิษซิตินิน (Citrinin) จะมีลักษณะคล้ายสารพิษออคล่าท๊อกซิน (ochratoxin A ) มันจะมีผลทำให้ไตอักเสบ (Nephrotoxin) ในไก่ตามมา และเมื่อใดก็ตามที่ไก่รุ่น กินสารพิษจากเชื้อราทั้ง 2 ชนิดนี้เข้าไป มันจะไปมีผลทำให้สารพิษจากเชื้อราทั้ง 2 ชนิดนี้มีฤทธิ์หักล้างกัน ทำให้สารพิษจากเชื้อราที่ได้รับเข้าไปไม่มีผลกระทบต่อไก่ที่ได้รับ (ดังตารางที่ 5)

                สารพิษซิตรินิน (Citrinin) จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เพิ่มการกินน้ำและเพิ่มการขับออกของน้ำในตัวไก่ ซึ่งเป็นวิการหลักที่เราใช้ในการวินิจฉัยอาการของการได้รับสารพิษจากเชื้อราชนิดนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพบว่าในอาหารมีการปนเปื้อนสารพิษชนิด ออคล่าท๊อกซิน ด้วย เมื่อไก่กินเข้าไปมันจะไปมีผลทำให้ลดความรุนแรงของสารพิษซิตรินินได้ (ดังตารางที่ 5) ดังนั้นในบางครั้งถึงแม้อาหารไก่ที่กินเข้าไปจะมีสารพิษซิตรินินอยู่ เราอาจจะไม่พบอาการของการได้รับสารพิษชนิดนี้ก็ได้ เพราะว่าอาหารที่ไก่กินเข้าไปนั้นมีส่วนผสมของสารพิษออคล่าท๊อกซินอยู่นั้นเอง



โรคในสัตว์ปีก

                สารพิษอฟ่าท๊อกซินมันจะเป็นสารพิษจากเชื้อราที่มีผลทำให้เกิดการกดภูมิคุ้มกันขึ้นในสัตว์ปีกที่ได้รับเข้าไป  ส่วนสัตว์อื่นๆถ้าได้รับสารพิษจากเชื้อราเข้าไปมันจะไปมันผลทำให้สัตว์ที่ได้รับนั้นเพิ่มความไวต่อการติดเชื้อโรคต่างๆเพิ่มมากขึ้น ในไก่ที่ได้รับสารพิษอฟ่าท๊อกซินร่วมกับการติดเชื้อบิด E.tenella  มันจะส่งผลทำให้อัตราการตายของไก่สูงมากขึ้น ค่า ADG และน้ำหนักไก่จับจะลดลง เมื่อเทียบกับการติดเชื้อบิดเพียงอย่างเดียว และนอกจากนี้ถ้าไก่ได้รับสารพิษอฟ่าท๊อกซินร่วมกับการติดเชื้อบิด E.acervulina มันจะส่งผลทำให้อัตราการตายของไก่ก่อนที่จะจับส่งตลาดสูงมากขึ้น แต่ว่าถ้าไก่ติดเชื้อ E.acervulina หรือ สารพิษอฟ่าท๊อกซินเพียงอย่างเดียว มันจะทำให้เม็ดสีที่ผิวหนังจางลง แต่ถ้าสัตว์ปีกได้รับทั้ง 2 ตัว มันก็จะมีผลทำให้เม็ดสีที่ผิวหนังเพิ่มจำนวนขึ้นมากเช่นกัน



ภาคผนวก

ตารางที่ 1: การผสมกันของสารพิษจากเชื้อราในอาหารสัตว์  ที่ได้มีการรายงานเอาไว้

สารพิษจากเชื้อรา
ผลกระทบของสารพิษจากเชื้อราที่มีรายงาน
เอกสารอ้างอิง
Aflatoxin and ochratoxin A
เสริมฤทธิ์กัน
Huff and Doerr, 1981
Aflatoxin and T-2 toxin
เสริมฤทธิ์กัน
Huff et al. 1981
Aflatoxin and DAS
เสริมฤทธิ์กัน
Kubena et al. 1993
Aflatoxin and kojic acid
ต่อต้านฤทธิ์กัน
Giroir et al. 1991
Aflatoxin and fumonisin
ทำให้ตัวใดตัวหนึ่งออกฤทธิ์ดีขึ้น
Kubena et al. 1995
Aflatoxin and moniliformin
ทำให้ตัวใดตัวหนึ่งออกฤทธิ์ดีขึ้นหรือลดลง
Kubena et al. 1997
Aflatoxin and moniliformin
ไม่เสริมฤทธิ์กัน
Li et al. 2000
Fumonisin and DAS or ochratoxin
ทำให้ตัวใดตัวหนึ่งออกฤทธิ์ดีขึ้นหรือลดลง
Kubena et al. 1997
Fumonisin and T-2 toxin
ทำให้ตัวใดตัวหนึ่งออกฤทธิ์ดีขึ้น
Kubena et al. 1995
Fumonisin and DAS or DON
ทำให้ตัวใดตัวหนึ่งออกฤทธิ์ดีขึ้น
Kubena et al. 1997
DON and T-2 toxin
ทำให้ตัวใดตัวหนึ่งออกฤทธิ์ดีขึ้น
Kubena et al. 1989
Citrinin and ochratoxin A
ต่อต้านฤทธิ์กัน
Manning et al. 1985
Ochratoxin and T-2 toxin
ทำให้ตัวใดตัวหนึ่งออกฤทธิ์ดีขึ้น
Wang et al. 2009
Moniformin and DON
จะไม่มีผลกระทบ ถ้ามี DON เดี่ยวๆ
Morris et al. 1999
Cyclopiazonic acid and ochratoxin A
ทำให้ตัวใดตัวหนึ่งออกฤทธิ์ดีขึ้น
Gentles et al. 1999



ตารางที่ 2: ผลกระทบของสารพิษ Aflatoxin และ ochratoxin A ที่มีผลกระทบต่อการเลี้ยงไก่ ทั้งที่เป็นสารพิษแบบเดี่ยวๆ หรือสารพิษแบบรวมกัน( Adapted from Huff and Doerr, 1981 )

Aflatoxin (µg/g)
ochratoxin A (µg/g)
น้ำหนักไก่ (g)
ไขมันตับ (%น้ำหนักแห้ง)
0
0
625.8a
16.49a
0
2.0
549.6b
14.59a
2.5
0
551.1b
24.48b
2.5
2.0
380.4c
17.25a

หมายเหตุ : ค่าที่นำมาเสนอ จะเป็นค่าเฉลี่ยของไก่ทดลองทั้ง 6 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว โดยค่าทางสถิติตั้งไว้ p<0.05



ตารางที่ 3: ผลกระทบของสารพิษ Aflatoxin และ ochratoxin A ที่มีผลกระทบต่อการเลี้ยงไก่ โดยดูผลของตับไก่และไตของไก่ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งการทดลองครั้งนี้จะทดลองในไก่เพศผู้อายุ 1 – 21 วัน ( Adapted from Huff and Doerr, 1981 )

Aflatoxin (µg/g)
ochratoxin A (µg/g)
ตับไก่ (g/100g)
ไตไก่ g/100g)
0
0
2.82a
0.56a
0
2.0
3.20b
0.76b
2.5
0
3.50c
0.75b
2.5
2.0
4.11d
1.12c

หมายเหตุ : : ค่าที่นำมาเสนอ จะเป็นค่าเฉลี่ยของไก่ทดลองทั้ง 6 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว โดยค่าทางสถิติตั้งไว้ p<0.05



ตารางที่ 4: ผลกระทบของสารพิษ Aflatoxin และ ochratoxin A ที่มีผลกระทบต่อการเลี้ยงไก่ โดยจะดูที่ค่าไขมันตับ ซึ่งจะแยกเป็นการเลี้ยงตลอดช่วงอายุ ( เลี้ยง 6 สัปดาห์ )และเลี้ยงอายุ 1-21 วัน ( Adapted from Huff and Doerr, 1983 )

Aflatoxin
ochratoxin A
ไขมันในตับไก่
(µg/g)
(µg/g)
เลี้ยง 6 wk.(%น้ำหนักแห้ง)
เลี้ยง 1-3 wk.(%น้ำหนักแห้ง)
0
0
16.16a
16.00a
0
2.0
15.22a
15.10a
2.5
0
24.32c
15.37a
2.5
2.0
21.23b
15.12a

หมายเหตุ : : ค่าที่นำมาเสนอ จะเป็นค่าเฉลี่ยของไก่ทดลองทั้งหมด 3 รอบการทดลอง โดยใช้ไก่รอบละ 25  ตัว โดยค่าทางสถิติตั้งไว้ p<0.05



ตารางที่ 5: ผลกระทบของสารพิษ ochratoxin A และ  Citrinin ที่มีผลกระทบต่อการเลี้ยงไก่ โดยดูที่น้ำหนักของไก่และปริมาณน้ำไก่กิน ซึ่งการทดลองครั้งนี้ จะเลี้ยงไก่อายุ 1 – 21 วัน ( Adapted from Huff and Doerr, 1985 )

ochratoxin A (µg/g)
Citrinin (µg/g)
น้ำหนักไก่(g)
ปริมาณน้ำไก่กิน (ml/ตัว)
0
0
635a
831a
2.0
0
548b
770a
0
400
561b
2289b
2.0
400
516c
1181c

หมายเหตุ : : ค่าที่นำมาเสนอ จะเป็นค่าเฉลี่ยของไก่ทดลองทั้งหมด 6 รอบการทดลอง โดยใช้ไก่รอบละ 8  ตัว โดยค่าทางสถิติตั้งไว้ p<0.05





เอกสารอ้างอิง

·       Orlando O. .2011. Interaction  and  effects  of  mycotoxins  in  poultry    , International  poultry  production , V19(4) :  7 - 9 p.