วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ผลของการใช้ Vector vaccine

ประจำเดือน  สิงหาคม   2011

แปลและเรียบเรียงโดย  .สพ.ชัชวาลย์   สอนศรี

ผช.ผจญ. วิชาการ-สุขภาพไก่เนื้อ



วัคซีนชนิด  Vector  เป็นวัคซีนแนวทางใหม่ที่จะใช้ในการควบคุมเชื้อ Newcastle (ND)

( Vector  vaccine – the new approach to Newcastle  disease  control  )



            จากการจัดงานสัมมนาของบริษัทซีวาเกี่ยวกับเรื่องวัคซีนชนิดที่มีตัวนำพา หรือ Vector vaccine  ที่ซานดิเอโก้ ประเทศอเมริกา ซึ่งประเด็นหลักในที่นี้ก็คือ การที่จะทำวัคซีนเพื่อที่จะควบคุมโรค ND ในอุสาหกรรมการเลี้ยงไก่นั้นเอง

                ซึ่งในงานนี้ คุณเทียรรี่ แวนเดอร์เวอร์ก จากแบลเยี่ยม ก็ได้เป็นคนทำการทบทวนความรู้เกี่ยวกับเรื่องของโรคนิวคลาสเซิล และการควบคุมป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ซึ่งการบรรยายก็เริ่มตั้งแต่สาเหตุของการเกิดโรค อุบัติการณ์ของการเกิดโรค และพื้นที่ที่มีการเกิดโรคขึ้นมาครั้งแรก โดยพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคครั้งแรกก็คือ ในเมืองจาวา และเมืองนิวคลาสซิล(เป็นชื่อที่มีการตั้งขึ้นในภายหลัง) โดยพื้นที่ดังกล่าวนี้จะอยู่ในประเทศอังกฤษ และปีที่เกิดโรคคือ ปี 1906



ความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้น

                โรคนิวคลาสซิลเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงและเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมากในธุรกิจการเลี้ยงไก่เนื้อ โดยจะพบว่าสัตว์ปีกมากกว่า 250 ชนิดสามารถที่จะติดเชื้อนี้ได้ โดยอัตราการตายและอัตราการป่วยจะมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างมาก โดยทั่วไปแล้วถ้าสัตว์ติดเชื้อมักจะมีอาการป่วย 100%

            ในการระบาดของโรคจะพบการระบาดในสัตว์ปีกทั่วไป โดยจะพบการระบาดในตอนกลางของประเทศอเมริกา  แอฟฟริกา  เอเชียใต้และตะวันออก รวมไปถึงประเทศจีนด้วย ซึ่งรายละเอียดของการระบาดของโรคทั้งหมดจะแสดงเอาไว้ในตารางที่ 1:

            อาการของโรคจะมีการแสดงอาการระบบทางเดินหายใจตั้งแต่ปานกลางไปจนถึงรุนแรง และนอกจากนี้ยังพบอาการท้องเสีย และสุดท้ายก็จะมีผลทำให้เกิดการสูญเสียสูงตามมา และนอกจากนี้ยังพบว่าในการติดเชื้อไวรัสบางสายพันธ์จะมีผลทำให้ไข่ลด และมีอาการทางประสาทร่วมด้วย ในการแบ่งชนิดของการเกิดโรคนิวคลาสเซิลนั้นจะแบ่งตามความรุนแรงของโรคและลักษณะของอาการไก่ที่แสดงออก ซึ่งรายละเอียดจะมีดังนี้



ความรุนแรงของโรคมาก ( Velogenic) :

            จะมีอัตราการตายของไก่มาก ประมาณ 80-100% ของฝูง เชื้อที่ก่อความรุนแรงและแสดงอาการของโรคทางประสาท (Velogenic neurotropic) นั้น มันจะมีผลไปทำลายระบบประสาทเป็นหลักและมีผลทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจด้วย ซึ่งเชื้อตัวนี้มันจะเป็นเชื้อสายพันธ์ที่ 2 (genotypes II )  และนอกจากนี้เชื้อในกลุ่ม Velogenic viscerotropic นั้น มันก็จะมีผลทำให้เกิดเลือดออกที่ระบบทางเดินอาหาร ตามมา ( เป็นเชื้อในสายพันธ์  ที่  3 – 4 )



ความรุนแรงของโรคปานกลาง (Mesogenic )

            โดยทั่วไปแล้วจะพบอัตราการตายน้อย ซึ่งโดยมากมักจะน้อยกว่า 10% แต่อาจจะมีมากถึง 50% ในกรณีที่เป็นโรคในไก่ที่อายุน้อย      อาการในระบบทางเดินหายใจมักจะพบได้เป็นปกติและอาการทางระบบประสาทจะพบได้น้อย (เป็นเชื้อในสายพันธ์ ที่ 2 , 2a และ 3)



ความรุนแรงของโรคต่ำ (Lentogenic )

            เป็นเชื้อไวรัสที่พบได้ทั่วไป และมีความรุนแรงต่ำ ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดอาการทางระบบหายใจ แต่จะพบปัญหาเรื่องของอัตราการเจริญเติบโตที่ต่ำลง (เป็นเชื้อในสายพันธ์ที่ 2 และ 2a)



เชื้อไวรัสที่ไม่ก่อโรค (Apathogenic)

            เป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร และไม่พบการก่อโรคที่ระบบทางเดินอาหารเลย (เป็นเชื้อในสายพันธ์ที่ 1 และ 1a)



            และโดยทั่วไปแล้ววัคซีนสำหรับป้องกันเชื้อนิวคลาสเซิลนั้น จะเป็นเชื้อที่สามารถแยกได้ก่อนปี 1960 แล้วทั้งนั้น ซึ่งโดยทั่วไปก็จะเป็นเชื้อที่อยู่ในสายพันธ์ 1 – 3 ทั้งนั้น ซึ่งวัคซีนที่นำมาใช้ก็จะมีทั้งที่เป็นเชื้อเป็น และวัคซีนเชื้อตาย



วัคซีนเชื้อเป็น ( Attenuated  vaccines)

            โดยทั่วไปแล้ว วัคซีนเชื้อเป็นที่มีการนำมาใช้กันอยู่ทั่วไปนี้ ก้จะเป็นเชื้อในกลุ่มที่มีความรุนแรงต่ำ (เชื้อสายพันธ์ 2 และ กลุ่มเชื้อไวรัสที่ไม่ก่อโรค (เชื้อสายพันธ์ 1 ) และในบางครั้งก็เอาเชื้อที่มีความรุนแรงปานกลางมาทำวัคซีนด้วย (เชื้อสายพันธ์ 2-3) แต่ปัญหาที่มักจะพบตามมาก็คือ มันจะเกิดอาการแพ้วัคซีนที่มากขึ้น ในการที่จะนำวัคซีนในกลุ่มนี้มาใช้ก็ใช้ในการเกิดการระบาดของเชื้อที่รุนแรงและแพร่กระจายกันไปทั่ว หรือเพื่อที่จะทำวัคซีนซ้ำ (boot vaccine) เพื่อที่จะทำให้ระดับภูมิคุ้มกันเพิ่มสูงขึ้น  แต่ว่าวัคซีนที่มีความรุนแรงระดับปานกลาง (Mesogenic vaccine) จะไม่อนุญาตให้ใช้ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (EU)

                ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ปัจจุบันนี้ จะเป็นการเลี้ยงไก่ที่มีจำนวนตัวที่มากๆ และอายุใกล้ๆกัน ซึ่งทางผู้เลี้ยงก็มีความต้องการที่จะทำให้การทำวัคซีนมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีที่สุด เพื่อที่จะสามารถที่จะป้องกันการเกิดโรคที่จะเกิดขึ้นตามมาได้

จุดมุ่งหมายสูงสุดของการทำวัคซีน

                ประสิทธิภาพของการทำวัคซีนที่ดีที่สุดก็คือ การทำให้ไก่ตัวนั้นหรือไก่ในฝูงนั้นสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อภายในพื้นที่ได้ และนอกจากนี้ยังต้องป้องกันอาการของการเกิดโรคและลดการแพร่เชื้อลงสู่สิ่งแวดล้อมให้ได้ด้วย

                หลักการสำคัญของการทำวัคซีนป้องกันโรคนิวคลาสเซิลนั้น มันจะช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสในพื้นที่แต่มันไม่ได้ไปทำลายเชื้อไวรัสที่มีอยู่ในพื้นที่นั้นๆ และนอกจากนี้มันก็อาจจะป้องกันปัญหาการแพร่เชื้อไวรัสจากตัวไก่ไปสู่สิ่งแวดล้อมได้ และในบางครั้งมันก็อาจจะยังคงทำให้เชื้อไว้รัสที่ก่อโรคนั้นมันยังคงมีอยู่ภายในฟาร์มที่เลี้ยงสัตว์ปีกอยู่นั้นเอง

                ในการทำวัคซีนที่ดีนั้น โดยมากแล้วมันจะสามารถที่จะกระตุ้นทำให้เกิดภูมิกันป้องกันโรคนิวคลาสเซิลได้ในระดับที่สูงๆอยู่แล้ว และนอกจากนี้ ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นนี้มันยังมีความแตกต่างกันระหว่าง ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการทำวัคซีน และภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อภายในธรรมชาติด้วย ซึ่งวิธีการตรวจนี้ จะใช้วิธีการตรวจแบบ DIVA

            ในทางเดียวกัน ระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นนี้มันก็ไม่ได้มีผลในการป้องกันการติดเชื้อที่เกิดกับระดับของ HI ( Humoral antibody) ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำวัคซีนเลย ซึ่งระดับของค่า HI Titer ที่สูงขึ้นมันก็ใช่ว่าจะทำให้มีการป้องกันการติดเชื้อที่ดีเสมอไป และถ้าตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันแบบ HN antigen มันก็นะมีผลไปในทางเดียวกันมากกว่า หรือ สามารถที่จพบอกได้ว่า ถ้ามีค่าอยู่ในระดับที่สูงมันก็สามารถที่จะป้องกันการติดเชื้อที่มีอยู่ภายในพื้นที่ได้

                โดยปกติแล้ว ระดับของภูมิคุ้มกันแบบ HI ที่สร้างขึ้นภายในกระแสเลือด มันมักจะไม่มีความสัมพันธ์กับระดับของภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการทำวัคซีนเชื้อเป็น ซึ่งวัคซีนเชื้อเป็นนี้มันจะกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันในร่างกายน้อย แต่มันจะเป็นเซลล์ที่จะมีการแพร่กระจายไปที่อวัยวะที่มันจะใช้ในการป้องกันเชื้อไวรัสที่จะเข้าไปภายในร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง  เป็นต้น

                ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นมากก็คือ การที่จะทำวัคซีนซ้ำหลังจากที่ทำวัคซีนเชื้อเป็นไปแล้ว นั้นก็คือ การทำวัคซีนแบบ Vector  vaccine  นั้นเอง

                สำหรับวัคซีนชนิด Vector  vaccine นั้น จะเป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัยสูงมาก เชื้อไวรัสที่อยู่ในตัวพา หรือ Vector จะไม่สามารถที่จะก่อโรคกลับมามีความรุนแรงขึ้นได้อีกเลย โดยในวัคซีนชนิดนี้สารที่ใช้ทำสื่อมันจะมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่สูงมาก และมันยังสามารถที่จะกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันได้สูงมากอีกด้วย และข้อดีของมันอีกคือ มันทำวัคซีนไปแล้ว มันจะสามารถที่จะกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้นกันที่รวดเร็วได้ และมันยังไม่มีผลไปรบกวนระดับของภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดมาจากแม่ด้วย (Maternal  immunity)

            ในทางเดียวกัน วัคซีนนี้มันจะสามารถที่จะกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันขึ้นได้ 2 อย่าง อย่างเช่น ถ้าใช้ Vector เป็นเชื้อมาเร็ก (HVT) และใส่ยีนของเชื้อนิวคลาสเซิลในส่วนที่สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ ND ได้ เข้าไปในตัวของ Vector HVT  มันก็จะสามารถที่จะทำให้เกิดภุมิคุ้มกันได้ทั้งโรคมาเร็กค์  และโรคนิวคลาสเซิล ตามมา และนอกจากนี้ ภูมิคุ้มกันต่อโรคนิวคลาสเซิลที่เกิดขึ้นนี้ มันยังสามารถที่จะแยกออกได้ว่า มันเป็นชนิดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำวัคซีน หรือเป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นเนื่องจากการติดเชื้อ ND ภายในพื้นที่ฟาร์ม โดยวิธีการตรวจแยกวิเคราะห์นี้ จะใช้วิธี DIVA

                โรคนิวคลาสเซิลนี้ มันจะตอบสนองโดยระดับภูมิคุ้มกันภายในร่างกายในหลายๆส่วน เช่น ระบบ HI หรือภูมิคุ้มกันที่มีในกระแสเลือด ระบบพึ่งเซลล์ หรือ cell-mediated  และระบบต่อมน้ำเหลืองทั่วไปภายในร่างกาย เช่น HALT-head associated lymphoid tissue , BALT – bronchus associated lymphoid และ GALT- gut associated lymphoid tissue



วัคซีนชนิดรวม ( Recombinant  vaccines)

            ในการทำวัคซีนนิวคลาสเซิลในอนาคตข้างหน้านี้ วัคซีนที่ใช้ทำจะต้องเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพที่ดี สามารถที่จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่ออาการของโรค ND ได้หลายๆแบบ และลดการแพร่หรือการถ่ายเชื้อจากสัตว์ตัวที่เป้นออกสู่สิ่งแวดล้อมให้ได้ด้วย

                ซึ่งวัคซีนที่จะมีการนำมาใช้ในอนาตคข้าวหน้า น่าจะเป็นวัคซีนชนิดรวม เป็นหลัก  ซึ่งในที่นี้ก็อย่าง Vector vaccine  นี่เอง ( rHVT – ND – Vectoemune HVT-NDV )ซึ่งการมาใช้นั้น จะทำการฉีดที่ไข่ฟักก็ได้ หรือฉีดที่ลูกไก่อายุ 1 วัน และหลังจากนั้นก็สามารถที่จะ ทำวัคซีนซ้ำได้อีกครั้งโดยวัคซีนเชื้อเป็น  ไม่ว่าจะเป็นการละลายน้ำหรือการหยอดตา ก็แล้วแต่



งานทดลองวัคซีนที่ประสบผลสำเร็จ

                ในงานทดลองนี้ ได้มีการทำวัคซีนในลูกไก่ที่จะนำไปเลี้ยงเป็นลูกไก่พันธ์รุ่น ซึ่งผลการทดลองพบว่า ให้ผลในการคุ้มโรค 100% โดยในการทดลองนี้ได้มีการใช้วัคซีนหลายแบบ ซึ่งวัคซีน Vectoemune HVT-NDV จะให้ภูมิคุ้มกันได้ประมาณ 90% ส่วน Cevac vitapest L จะให้ภูมิคุ้มประมาณ 70% ภายใน 1 สัปดาห์หลังจากที่มีการทำวัคซีนไปแล้ว

                ในทางเดียวกัน วัคซีนที่ทำนี้มันจะช่วยลดการปลอดเชื้อไวรัสออกจากตัวไก่ซึ่งทั้งนี้มีการตรวจหาเชื้อที่ช่องใต้เพดาลปากและขี้ไก่ที่ไก่ถ่ายออกมา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับไก่กลุ่มที่ไม่ทำวัคซีนแล้วจะพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญและไก่กลุ่มที่ไม่วัคซีนก็จะตายสูงมาก กล่าวโดยทั่วไปจะบอกได้ว่าไก่กลุ่มที่ทำวัคซีนจะมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้นมาก

                การศึกษาในส่วนอื่นๆ ได้มีการนำไก่มาทำการฉีดเชื้อพิษทับที่อายุ 6 และ 10 สัปดาห์ ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสนิวคลาสเซิลสายพันธ์ที่มาจากประเทศแคนนาดา ซึ่งไก่กลุ่มที่ทำวัคซีนดังที่ได้มีการแสดงเอาไว้จะพบว่า สามารถที่จะป้องกันการติดเชื้อ หรือการฉีดเชื้อพิษทับได้ที่อายุ 6 สัปดาห์ แต่ที่อายุ 10 สัปดาห์ จะมีเฉพาะวัคซีน Vectoemune HVT-NDV  และวัคซีน Cevac vitapest L  ที่จะสามารถป้องกันการติดเชื้อ หรือการฉีดเชื้อพิษทับได้ 100%

            ดร.ทอม โฮลเดอร์ จากอเมริกา ซึ่งทำงานให้กับกลุ่มบริษัท อเลนน์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตอาหาร ได้มาทำการแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับการใช้วัคซีน HVT เพื่อที่จะใช้ในการป้องกันการติดเชื้อ ND ว่า แต่ก่อนที่เคยมีการใช้วัคซีนเค้ามักจะมีคำถามหลายๆคำถามที่ยังไม่มีคำตอบเสมอ ซึ่งคำถามเหล่านี้ก็จะมี เช่น

·       มันสามารถที่จะใช้แทนโปรแกรมมาตรฐาน ที่เราใช้วัคซีน B1 อยู่หรือไม่

·       มันสามารถที่จะป้องกันการติดเชื้อ มาร์เร็กต์ และเชื้อ นิวคลาสเซิล พร้อมกันได้หรือไม่

·       เราจำเป็นที่จะต้องทำวัคซีนซ้ำเป็นครั้งที่ 2 หรือไม่ (boot vaccine)

·       ในการทำวัคซีน เราจะต้องใช้ในขนาดที่เท่าใหร่ต่อการให้วัคซีนในไก่  1 ตัว เพื่อทำให้มีประสิทธิสูงที่สุด

·       ยี่ห้อของวัคซีนที่จะนำมาใช้ เราจะต้องใช้ยี่ห้อใหนถึงจะดีที่สุด

·       และราคาของวัคซีนที่ว่าดีๆนี่ ราคามันจะเท่าใหร่

เพื่อที่จะได้รู้ว่าคำถามที่ยังไม่มีคำตอบของเค้านั้นคืออะไร เค้าก็เลยวางแผนการทดลองวัคซีน 2 ชนิดขึ้นมา

เพื่อที่เปรียบเทียบกัน โดยโปรแกรมที่ว่านี้ โปรแกรมแรกคือ โปรแกรมการใช้ BI และอีกโปรแกรมก็เป็น HVT ซึ่งวัคซีนที่นำมาใช้จะพบว่า วัคซีนที่เป็นของบริษัทซีวาจะให้ผลดีที่สุดและทำให้การสูญเสียน้อยที่สุดด้วย และโปรแกรมที่ดีที่สุดก็คือ โปรแกรมที่ใช้ HVT

                โดยการทดลองเค้าได้ทำการทดลองเป็นช่วงๆในแต่ละปี ซึ่งผลการทดลองและข้อมูลต่างๆ จะแสดงเอาไว้ตามตารางที่ 2 กับ 3  สุขภาพไก่ในช่วงปี 2008-09 ในช่วงฤดูหนาว จะพบว่าไก่แสดงอาการเสียงหวัดเล็กน้อยในฟาร์ม แต่ก็มีบางฟาร์มที่มีเสียงหวัดรุนแรงมาก แต่ปัญหาระบบทางเดินหายใจที่กล่าวมานี้ เมื่อนำไปแยกเชื้อไวรัสพบว่า ไก่ที่แสดงอาการไม่มีการปนเปื้อนเชื้อไวรัสนิวคลาสเซิลเลย ในโปรแกรมที่ทำนี้(HVT)จะไม่มีการทำวัคซีนเชื้อเป็นเลยตลอดทั้ง 2 ปี ที่มีการเลี้ยงไก่ ซึ่งผลการเลี้ยงก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดีดังที่กล่าวมา แต่ที่น่าสนใจก็คือ จากประวัติที่ผ่านมา ไก่กลุ่มที่มีอาการทางระบบหายใจจะสามารถที่จะแยกพบเชื้อนิวคลาสเซิลได้ ดังตารางที่ 4:



บทสรุป

                ข้อดีของการใช้วัคซีน HVT vector เพื่อป้องกันโรคนิวคลาสเซิลนั้น มันมีข้อดีหลายๆอย่างที่น่าจะนำมาใช้ทำวัคซีนในฟาร์มไก่เนื้อ ดังนี้

·       ลดความเคลียดเนื่องจากการทำวัคซีน

·       ไม่ได้มีผลไปขัดแย้ง หรือต่อต้านกัน เมื่อมีการทำวัคซีน IB

·       ลดอัตราการสูญเสีย และอัตราการคัดทิ้ง ที่โรงเชือด

·       ทำให้ ไก่ที่เลี้ยงในฝุงมีความสม่ำเสมอกันมาก

·       สามารถที่จะขจัดเชื้อนิวคลาสเซิลที่อยู่ภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่ได้

·       ต้นทุนการทำวัคซีน ต่ำ





ภาคผนวก

ตารางที่ 1: รายงานการระบาดของโรคนิวคลาสเซิล ( ND )  ในช่วงที่ผ่านมา

ปี
ประเทศ
ลักษณะการระบาด
2000
อิตาลี
ไก่ที่เลี้ยงเป็นอุตสาหกรรมและไก่หลังบ้าน
2005-7
กรีซ
ไก่เนื้อ
2006
อังกฤษ
นกป่าขนาดกลาง
2006
ญี่ปุ่น
ไก่เนื้อและไก่ที่เลี้ยงหลังบ้าน
2007
ฮอร์ดูรัส
อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่พันธ์รุ่นขนาดกลาง
2007
สวีเดน
ไก่พันธ์รุ่น
2008
ญี่ปุ่น
ไก่เนื้อ
2009
สวีเดน
ไก่พันธ์รุ่น
2009-10
อิสราเอล
ไก่พันธ์รุ่นและไก่เนื้อ
2009-10
เปรู
ไก่หลังบ้านและไก่ชน
2009
ฮอร์ดูรัส
ไก่หลังบ้าน
2009
สเปน
ห่าน



ตารางที่ 2: ผลการเลี้ยงไก่เนื้อ ในช่วงเวลาในแต่ละปีนั้นๆ ( เดือน สิงหาคม ตุลาคม ) ในช่วงปี 2007 – 2009

ปี
วัคซีน
อายุ
%สูญเสีย
นน.(ปอล์น)
FCR
%คัดซากทิ้ง
จับไก่ไซด์ขนาดเล็ก
2007
IB
40.45
3.5
4.40
1.80
0.35
2008
Vect.
39.0
2.6
4.50
1.74
0.39
2009
Vect.
37.8
2.0
4.51
1.70
0.07
จับไก่ไซด์ขนาดเล็ก
2007
IB
53.8
5.5
6.33
2.04
0.34
2008
Vect.
53.3
3.4
6.77
1.98
0.22
2009
Vect.
49.8
2.6
6.35
1.94
0.12



ตารางที่ 3: ตารางเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการเลี้ยงไก่ในช่วง 3 ปี (เดือนสิงหาคม กรกฏาคม)

ปี
วัคซีน
อายุ
%สูญเสีย
นน.(ปอล์น)
FCR
%คัดซากทิ้ง
จับไก่ไซด์ขนาดเล็ก
2007-08
IB
40.7
4.4
4.45
1.81
0.63
2008-09
Vect.
39.0
2.8
4.56
1.76
0.23
2009-10
Vect.
38.2
2.6
4.47
1.73
0.12
จับไก่ไซด์ขนาดเล็ก
2007-08
IB
52.9
5.8
6.30
2.03
0.34
2008-09
Vect.
51.2
3.5
6.50
1.98
0.23
2009-10
Vect.
49.6
3.4
6.49
1.95
0.21



ตารางที่ 4: ข้อมูลการแยกเชื้อไวรัส

NDV วัคซีน
ช่วงการเก็บตัวอย่าง
ฝูงที่พบติดเชื้อ IBV
ฝูงที่พบติดเชื้อ NDV


จำนวน
%
จำนวน
%
NDV- BI
Jan-May 08
38/115
33
34/115
30
rHVT-ND
Jun-Nov 08
11/37
30
0/37
0





เอกสารอ้างอิง

·       Non  .2010.  Vector  vaccine – the new approach to Newcastle  disease  control  , International  poultry  production , V18(8) :  11-13 p.